GARMIN Card ID  

เอก เลาหะวัฒนะ , 0 ความคิดเห็น

การดู Card ID ของ SD Card ที่ Garmin ใช้ในการ Unlock



เสียบ SD Card แล้วใช้ โปรแกรม SKTool จะพบ Serial จริงๆของ SD ตามรูป




Serial จริงที่อ่านได้ = 1B803004

Garmin Card ID ใช้วิธีสลับ 4-high bit กับ 4-low bit ครับ

1B803004 ------> B1080340

0xB1080340 -------> 2970092352

Remark :- เลขที่ได้จะเป็น HEX ต้องแปลงเป็น DEC เพื่อเอาไปใช้

GARMIN Map Name  

เอก เลาหะวัฒนะ , 0 ความคิดเห็น

เครื่อง GARMIN Nuvi สามารถ ตั้งชื่อแผนที่ได้ ดังนี้

ในเครื่อง Nuvi ไฟล์จะอยู่ใน X:\Nuvi\Garmin\

1. Gmapbmap.img คือ แผนที่ Base Map

2. gmapoem.img คือ แผนที่นำทาง ไม่สามารถเลือกไม่ใช้งานได้

3. Gmapprom.img คือ แผนที่นำทาง

4. Gmapprom1.img คือ แผนที่นำทาง

5. Gmapsupp.img คือ แผนที่นำทาง


ใน GARMIN Mobile XT จะใช้แผนที่ คือ Gmapsupp.img คือ แผนที่นำทาง

ไฟล์จะอยู่ใน X:\SD Card \garmin\

ที่จริง โปรแกรม Mobile XT ทั้ง PPC และ Symbian สามารถลงแผนที่ใน SD Card ได้ 4 ไฟล์ คือ

1. Gmapbmap.img คือ แผนที่ Base Map

2. Gmapprom.img คือ แผนที่นำทาง ที่ไม่สามารถลบโดย Mobile XT ได้

3. Gmapsupp.img คือ แผนที่นำทาง สามารถลบโดย Mobile XT ได้ และเป็นแผนที่ที่ส่งมาจาก MapSource ได้ด้วย

4. Gmapsup2.img คือ แผนที่นำทาง สามารถลบโดย Mobile XT ได้



ถ้าต้องการให้แผนที่หลายแผนที่อยู่ในเครื่องเดียว หรือ SD Card เดียว โดยไม่ต้องคอยมาเป็นชื่อไฟล์ Gmapsupp.img

แนะนำให้เปลี่ยนชื่อไฟล์แผนที่ประเทศไทย (Gmapsupp.img) ให้เป็น Gmapprom.img

จะได้ไม่ต้องคอย backup ไฟล์แผนที่ประเทศไทย ถ้ามีการใช้โปรแกรม MapSource ในการส่งแผนที่มาที่ Mobile XT ครับ..

สำหรับเครื่อง P800w , D810 และ U1000 ก็ให้เปลี่ยนไฟล์ Gmapsupp.unl เป็น Gmapprom.unl ด้วย !!

GARMIN Map ID  

เอก เลาหะวัฒนะ , 0 ความคิดเห็น

MapID: 2 North America City Navigator V4.00
MapID: 5 Europe City Navigator v4.0
MapID: 6 North America City Select v4.0
MapID: 11 Americas BlueChart v4.00
MapID: 12 Europe City Select v4.00
MapID: 13 Atlantic BlueChart v4.00
MapID: 14 Europe MetroGuide V4.00
MapID: 17 Australian City Navigator V4.00
MapID: 21 North America City Navigator V4.01
MapID: 23 South Africa City Select V4.00
MapID: 26 Australian Metroguide V4.00
MapID: 28 Atlantic BlueChart v4.01
MapID: 32 Taiwan Topo V5.00
MapID: 35 Europe City Navigator v5.00
MapID: 38 Americas BlueChart v5
MapID: 41 Atlantic BlueChart v5
MapID: 45 European City Select V5.00
MapID: 48 North American City Navigator v5
MapID: 57 City Navigator Thailand v8.1
MapID: 58 Americas BlueChart v5.5
MapID: 59 Atlantic BlueChart v5.5
MapID: 60 Pacific BlueChart v5.5
MapID: 61 North America City Select V5.00
MapID: 62 European City Select V6.00
MapID: 63 European City Navigator Version 6
MapID: 66 Europe 20m Contour lines
MapID: 67 Taiwan City Navigator v7.01
MapID: 68 Americas BlueChart v6
MapID: 69 Atlantic BlueChart v6
MapID: 71 South Africa City Select v5
MapID: 72 City Navigator Australia v5
MapID: 77 Karten der Alpen (Contour lines)
MapID: 83 City Navigator North America v6
MapID: 84 Topo Austria
MapID: 85 North American City Select V6
MapID: 87 City Navigator Middle East v2
MapID: 92 BlueChart Americas v6.5
MapID: 93 BlueChart Atlantic v6.5
MapID: 94 BlueChart Pacific v6.5
MapID: 98 City Navigator Europe v7
MapID: 99 City Select Europe v7
MapID: 114 BlueChart Americas v7.0
MapID: 115 BlueChart Atlantic v7.0
MapID: 116 BlueChart Pacific v7.0
MapID: 121 City Select Europe v7
MapID: 123 City Navigator North America v7
MapID: 125 City Select North America v7
MapID: 129 City Navigator Australia v6
MapID: 131 BlueChart Americas v7.5
MapID: 132 BlueChart Atlantic v7.5
MapID: 133 BlueChart Pacific v7.5
MapID: 141 Topo Great Britain v2
MapID: 142 City Navigator Middle East v3
MapID: 143 City Navigator Europe v8
MapID: 144 City Navigator Europe v8 NT
MapID: 145 MetroGuide Europe v8
MapID: 148 BlueChart Americas v8.0
MapID: 149 BlueChart Atlantic v8.0
MapID: 150 BlueChart Pacific v8.0
MapID: 155 China City Navigator ENG OF v5.0
MapID: 171 City Navigator North America NT v8
MapID: 173 BlueChart Americas v8.5
MapID: 174 BlueChart Atlantic v8.5
MapID: 175 BlueChart Pacific v8.5
MapID: 177 City Navigator Australia v7
MapID: 178 City Navigator New Zeland 3
MapID: 197 City Navigator Europe NT
MapID: 198 City Navigator Europe v9
MapID: 200 Topo USA 2008
MapID: 204 BlueChart Americas v9
MapID: 206 BlueChart Pacific v9
MapID: 208 BlueChart Atlantic v9
MapID: 214 City Navigator Taiwan 8
MapID: 219 City Navigator South Africa v6.0
MapID: 220 City Navigator Brazil NT v3
MapID: 224 Japan Street Map v8.00 (Japanese)
MapID: 230 - City Navigator Singapore,Malaysia NT v2.72
MapID: 241 City Navigator Middle East v4
MapID: 242 City Navigator Middle East v4 NT
MapID: 243 City Navigator North America 2008 (non NT)
MapID: 244 City Navigator North America NT 2008
MapID: 250 BlueChart Americas v9.5
MapID: 254 BlueChart Atlantic v9.5
MapID: 256 BlueChart Pacific v9.5
MapID: 267 City Navigator Indonesia NT v2.1, v3.1
MapID: 271 City Navigator Australia 2008
MapID: 272 City Navigator Australia NT 2008
MapID: 278 City Navigator Mexico NT 2008
MapID: 279 China City Navigator CHS OF v6.0
MapID: 280 China City Navigator Eng NT v6.0
MapID: 283 City Navigator EU 2008
MapID: 284 City Navigator EU 2008 NT
MapID: 287 Taiwan City Navigator v8.51
MapID: 291 BlueChart Americas V.2008
MapID: 295 BlueChart Atlantic 2008
MapID: 323 City Navigator Russia NT 2008
MapID: 325 City Navigator North America NT 2009
MapID: 328 City Navigator Middle East 2008
MapID: 329 City Navigator Middle East NT 2008
MapID: 334 City Navigator Brazil NT v4
MapID: 335 City Navigator Southeastern Asia v2.0 NT
MapID: 350 China City Navigator CHS NT V6.5
MapID: 350 China City Navigator CHS NT V6.6
MapID: 351 China City Navigator ENG NT V6.5
MapID: 358 City Navigator Australia NT 2009
MapID: 360 Taiwan City Navigator CHT NT V8.53B
MapID: 363 City Navigator Southeastern Asia v3.0 NT
MapID: 370 Hongkong City Navigator CHS NT 2008
MapID: 370 Hongkong City Navigator CHT NT 2008
MapID: 370 Hongkong City Navigator ENG NT 2008
MapID: 535 Topo Deutschland (Nord)
MapID: 536 Topo Germany
MapID: 562 Slovakia Roads 2.10
MapID: 575 CarteBlanche Ukraine
MapID: 578 Czech Republic Topo
MapID: 579 Atlas CR10R v5, v6
MapID: 620 Topo Maps Belgium
MapID: 625 Finland Topo area 1
MapID: 626 Finland Topo area 2
MapID: 627 Finland Topo area 3
MapID: 628 Finland Topo area 4
MapID: 629 Finland Topo area 5
MapID: 630 Finland Topo area 6
MapID: 700 Topo Deutschland v2
MapID: 703 - TOPO Swiss
MapID: 706 Topo Oesterreich
MapID: 707 SOUTH AFRICA STREETMAPS V3.03
MapID: 708 Adria Route v1.7*
MapID: 709 NaviGuide Hungary v4.*
MapID: 715 Slovakia Roads v4.* or v5.0
MapID: 716 Slovakia Topo v2
MapID: 718 GPS Topo 1 Alpes
MapID: 719 GPS Topo 2 Pyrénées - Sud Ouest
MapID: 720 GPS Topo 3 Provence Côte d'Azur Méditerranée
MapID: 721 GPS Topo 4 Bretagne - Normandie
MapID: 722 GPS Topo 5 Ile de France
MapID: 724 Chile Streets 2007
MapID: 735 GPS Kort Island V2 Large
MapID: 746 RO.A.D. 2005 (Romunia)
MapID: 750 Roads of Russia with Routing v3.05
MapID: 772 GPS Topo 6 Alsace Lorraine - Vosges Jura
MapID: 773 GPS Topo 8 Bourgogne - Centre
MapID: 774 GPS Topo 9 Pays de Loire - Poitou Charentes
MapID: 775 GPS Topo 10 Nord Picardie Champagne Ardennes
MapID: 776 GPS Topo 11 Outre Mer
MapID: 779 Friluftskartan Pro - Norra Norrland
MapID: 791 Garmin Czech republic TOPO 50 v3.1
MapID: 795 Topo Czech v1.20
MapID: 796 Friluftskartan PRO - Södra och Mellersta Norrland
MapID: 797 Friluftskartan PRO - Svealand
MapID: 798 Friluftskartan Pro - Götaland
MapID: 800 GPMapa 4.0 Polska
MapID: 801 GPMapa 2007.1
MapID: 802 MapSource Topo Nederland
MapID: 821 Auto_Drive_Hellas v1.3 - Greece- eng
MapID: 822 Auto_Drive_Hellas v1.3 - Greece- gr
MapID: 824 GPS Topo 7 Massif Central
MapID: 830 Iceland GPS Kort 3.5
MapID: 831 Iceland GPS Kort DEM (3.0)
MapID: 836 GPMapa 5.0 Polska
MapID: 844 Topo Slovenija 1.1 or AdriaTopo v2.01
MapID: 846 ESTONIA REGIO Eesti
MapID: 848 NAVcity Turkey 2007.10
MapID: 848 NAVcity Turkey 2008.04
MapID: 848 NAVcity Turkey 2008.07
MapID: 857 Lietuva TOPO v1.0*
MapID: 866 TopoGuide Hungary 2.1
MapID: 880 Datatrak Malta / GOzo
MapID: 900 Travel Guide of Europe
MapID: 928 AdriaTOPO v1.* or v2.0
MapID: 929 SCG Route v1.* (Serbija,Črna Gora)
MapID: 931 RO.A.D 2006 (Romunija)
MapID: 933 Ukraine v3.66 eng
MapID: 934 Ukraine v 3.3
MapID: 962 Italy Topo 20m v1.0
MapID: 1086 Trekmap Dolomiti
MapID: 1088 Garmin Land Navigator Italia
MapID: 1102 Topo Spain Península Norte
MapID: 1103 Topo Spain Península Sur
MapID: 1104 Topo Spain Islas
MapID: 1105 TOPO Hispania
MapID: 1120 Russia with Routing 4.01
MapID: 1121 Roads of Russia v5.0*
MapID: 1142 AERO CZ_SK_H v6.5
MapID: 1143 AERO TOPO CZ/SK/H v6.5
MapID: 1144 SPEC TOPO CZ v6.5
MapID: 1147 Southern Africa Streetmaps, Topo & Rec v1.5
MapID: 1164 GPmapa 2007.03
MapID: 1184 GPmapa 2007.02
MapID: 1320 - GPMapa 2008.1
MapID: 1390 Topo Czech v2
MapID: 1391 Topo Czech v2 PRO
MapID: 2007 Belorussia v1.0*
MapID: 5028 OFRM Bulgaria v4.40
MapID: 5036 Mexico GPSAtlas V1.2

เตรียมตัวก่อนนำภาพไปอัดกับแล็บดิจิตอล

เดี๋ยว นี้มีร้านรับอัดภาพจากไฟล์ดิจิตอลอยู่ทั่วไป สำหรับคนที่ใช้กล้องดิจิตอลแล้วการนำภาพไปอัดลงบนกระดาษอัดภาพไม่ใช่เรื่อง ยุ่งยากเช่นเมื่อก่อนอีกต่อไป แต่เนื่องจากเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ และของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลค่อนข้างจะหลากหลาย ดังนั้น เพื่อลดอาการผิดหวัง และเพื่อให้ได้ภาพที่อัดออกมาตรงตามความต้องการ ลองมาดูวิธีเตรียมตัวกันซักนิดครับ
ในบทความจะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ 4 หัวข้อดังนี้ครับ

* การนำไฟล์ดิจิตอลไปร้าน

* สัดส่วนของภาพ

* JPG, TIF, ฯลฯ ?? (File Format)

* กี่ Pixel, กี่ DPI ถึงจะได้ภาพคุณภาพดีเพียงพอ?


(บทความยาวซักนิดนะครับ เพราะอยากจะให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง)

การนำไฟล์ดิจิตอลจากบ้านไปร้าน
การ นำไฟล์ไปร้านเพื่ออัดภาพ เราสามารถใส่สื่อเก็บข้อมูลได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแผ่น Diskette, CD-R/RW, Compact Flash, Smart Media, Memory Stick แถมตอนนี้มีเพิ่มเิติมเข้ามาอีกเช่น SD/MMC Card, xD Card นี่ยังไม่รวมสื่อบางประเภทที่มีอยู่ในกล้องดิจิตอลบ้างรุ่นเช่นพวก MO

สื่อ เก็บข้อมูลที่นำไปที่ร้านแล้วรับประกันว่าทุกร้านที่รับอัดภาพจากไฟล์ ดิจิตอลสามารถอ่านได้คือ Diskette, CD-R/RW, Compact Flash ครับ สำหรับ Smart Media ก็หาได้ง่าย แต่อาจจะไม่ทุกร้าน Memory Stick, SD/MMC Card ก็พอหาได้แต่มีน้อยไล่ลำดับกันไป ส่วน xD Card กับ MO นี่ค่อนข้างลำบากครับ

ผมขออนุญาตแบ่งขั้นตอนการเตรียมนำไฟล์ไปอัดออกเป็น 3 อย่าง ตามแต่ประเภทของสื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

* แผ่น Diskette - เป็นอะไรที่ราคาไม่แพง ทุกร้านมีเครื่องอ่าน แต่หลีกเลี่ยงได้ก็ดีครับ เพราะปัญหาของแผ่น Diskette คือบางครั้งอ่านที่เครื่องคอมพ์ หนึ่งได้แต่ไปอ่านอีกเครื่องหนึ่งไม่ได้ เวลานำไปที่ร้านอัดภาพ Floopy Disk Drive ที่ร้านอาจจะไม่สามารถอ่านภาพของเราในแผ่น Diskette แผ่นนั้นได้ จะทำให้เสียเวลาเปล่าๆ หรือบางครั้งหากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้านนั้นเกิดเขียนอะไรลงในแผ่นดิสค์ เมื่อนำกลับบ้านเครื่องที่บ้านเราอาจจะไม่สามารถอ่านแผ่นดิสก์แผ่นนั้นอีก เลยก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะกลไกในการเลื่อนไปยัง Track ต่างๆ เพื่ออ่านข้อมูลอาจจะเพี้ยนไปได้ตามกาลเวลา ถ้าจะให้ปลอดภัย ให้ก๊อปปี้แผ่นดิสค์ที่จะนำไปอัดภาพขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เผื่อเกิดความเสียหายขึ้นมา ภาพอันเป็นที่รักของเราจะได้ไม่เสียหายไปด้วย

* แผ่น CD-R/RW - เป็นสื่อที่สะดวกสบาย และเหมาะสมมากที่สุด โดยเฉพาะ CD-RW ซึ่งสามารถลบแล้วเขียนใหม่ได้ แนะนำว่าควรทำสำำเนาของแผ่น CD ที่จะเอาไปอัดภาพขึ้นมาอีกชุด ไม่ควรนำแผ่นต้นฉบับไป เพราะการนำสื่อไปอัดภาพที่ร้านอัดภาพ ส่วนหนึ่งต้องทำใจว่าสื่อที่เรานำไปอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ ซึ่งทางร้านจะชดใช้ให้เราตามความเห็นชอบของเค้า ซึ่งสื่อแบบ CD-R/RW สามารถดูความเสียหายกันได้ง่าย เช่นจากรอย ขูดขีด และราคาไม่สูงนัก ถ้าเป็นความผิดที่เกิดขึ้นจากทางร้านจริงส่วนใหญ่จะชดใช้ให้ไม่ค่อยมีปัญหา นอกจากนั้นการเตรียมภาพ ให้เราทำการก๊อปปี้เฉพาะรูปที่เลือกแล้วลงในแผ่น เวลาสั่งอัดก็ไม่ต้องไปนั่งจดชื่อไฟล์ให้เมื่อยตุ้ม แค่บอกเค้าว่าอัดทุกภาพที่อยู่ในแผ่น หรืออัดทุกภาพที่อยู่ใน Directory นั้นๆ ก็เป็นอันจบ หากมีภาพไหนต้องการอัดมากกว่าหนึ่งให้ Rename ชื่อไฟล์ให้มีจำนวนภาพที่ต้องการอัดต่อท้ายไปเลย เช่นต้องการอัดไฟล์ A.JPG 3 ชุด ก็ Rename ไฟล์ไปเลย A=3.JPG เป็นอันรู้กัน เพราะเวลาที่เราไปสั่งอัดภาพจากไฟล์เดียวออกหลายชุด ร้านเค้าก็จะใช้วิธีก๊อปปี้ไฟล์จาก CD ลงฮาร์ดดิสก์เค้า แล้ว Rename แบบนี้เหมือนกันครับ เพื่อความแน่ใจให้ลองสอบถามร้านที่เราไปอัดภาพดูอีกทีว่าทางร้านใช้ "=3" เหมือนกันหรือเปล่า เพราะบ้างร้าน อาจจะใช้ "x3" หรืออื่นๆ ที่ร้านแต่ละร้านกำหนดขึ้นเองก็ได้ครับ

* สื่อเก็บข้อมูลเช่น Compact Flash, Smart Media, Memory Stick, ฯลฯ - เป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการนำสื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ไปอัดภาพที่ร้านโดยตรง เพราะเจอปัญหากันมาเยอะครับ ที่เจอกันเลยคือถ้าเราไม่ได้ใช้ Compact Flash ก็มีโอกาสที่ร้านนั้นเค้าจะไม่มีอุปกรณ์ที่จะใช้อ่านข้อมูลจากสื่อเก็บ ข้อมูลของเรา ยิ่งถ้าเราใช้สื่อที่เพิ่งเกิดใหม่ เช่น Memory Stick, SD/MMC/xD Card แล้ว ยิ่งเป็นไปได้มาก แต่ปัญหาที่น่ากังวลมากกว่าคือปัญหาเรื่องของหาย และของเสียครับ แม้แต่ตัวผมเองยังเคยได้ Compact Flash (ของใครไม่รู้?) แถมกลับมาในซองงานทั้งๆ ที่ตอนสั่งอัดภาพผมส่งไปให้เฉพาะแผ่น CD-RW นอกจากนั้นสื่อพวกนี้เมื่อเกิดความเสียหายจะไม่สามารถเห็นความเสียหายได้จาก ภายนอก เพราะความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดกับวงจรภายใน ทำให้ไม่สามารถอ่าน-เขียนข้อมูลได้เป็นต้น ราคาก็สูง โอกาสที่จะตกลงความเสียหายกับร้านค้าก็ยากครับ เพราะถึงเด็กในร้านทำให้เกิดความเสียหายจริง เค้าก็คงไม่ค่อยอยากที่จะยอมรับ เพราะไม่งั้นนั่นอาจจะหมายถึงเงินเดือนของเค้าเกือบครึ่งเดือนเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แนะนำว่าอย่าทิ้งเอาไว้ที่ร้าน ให้รอรับกลับมาเลย เพราะขั้นตอนการทำงานของร้าน หลังจากเค้ารับสื่อเราใส่ซองไปเรียบร้อยแล้ว เค้าจะเอาเข้าเครื่อง Reader เพื่อทำการอ่านไปเก็บไว้ใน Hard Disk ของระบบ Network เพื่อเตรียมสั่งพิมพ์ หลังจากนั้นเค้าจะไม่มีความจำเป็นที่จะใช้สื่อเก็บข้อมูลของเราอีกต่อไป ดังนั้นบอกเด็กไปเลยครับ ว่าก๊อปปี้เสร็จแ้ล้วให้นำมาคืนเราทันที


สัดส่วนของภาพ
กล้อง ดิจิตอลที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดขนาดนี้ส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนของภาพถ่าย เท่ากับจอคอมพิวเตอร์คือ 4:3 (640x480, 1024x768, 1600x1200 เมื่อทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำจะได้เท่ากับ 4:3 พอดีครับ) แต่ก็ยังมีกล้องดิจิตอลบางตัวอาจจะมีสัดส่วนต่างออกไปเช่น 3:2 แต่ก็เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียกับกล้องส่วนใหญ่ในตลาด ในขณะที่กระดาษอัดภาพจะมีสัดส่วนที่แตกต่างออกไปจากสัดส่วนของภาพที่ได้จาก กล้องดิจิตอล เช่น 4"x6" (3:2), 5"x7" (5:7), 8"x10" (5:4), 20x24 (5:6) ดังนั้นเพื่อให้ภาพที่มีสัดส่วน 4:3 ของเราสามารถที่อัดลงกระดาษได้พอดีทางร้านจึงมีบริการ "ัตัดภาพ" หรือที่ภาษาประกิตเรียกว่า "Crop" ภาพของเราออกให้ฟรี ดังนั้นภาพที่เราถ่ายมาว่าพอดีแล้ว พออัดลงกระดาษอาจจะมีอาการหัวหาย เท้าหายกันเล็กน้อย

ภาพทางด้านซ้ายเป็นภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอลที่มีสัดส่วนของภาพ 4:3

เมื่อ นำไปอัดลงบนกระดาษ 4"x6" ซึ่งมีสัดส่วน 3:2 ช่างอัดภาพจะทำการตัดส่วนที่เกิดออกไปจากภาพเพื่อให้ได้ภาพที่พอดีกับสัด ส่วนของกระดาษอัด โดยปกติส่วนที่จะถูกตัดจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนทางด้านบน และทางด้านล่างของภาพ ในภาพ ส่วนที่ถูกแรเงาด้วยแถบสีขาว ทั้งข้างบนและข้างล่างแสดงให้เห็นถึงบริเวณที่จะถูกตัดออกไป

ภาพที่ปรากฏอยู่บนกระดาษอัดภาพ ขนาด 4"x6"
ซึ่ง บริการนี้ก็ขึ้นอยู่กับดวงของเราผู้นำภาพไปอัดว่าช่วงนั้นเราเจอช่างอัด ภาพที่พิถีพิถันแค่ไหน โดยทั่วไปส่วนที่จะถูกตัดออกเค้าจะตัดส่วนที่เกินออกโดยแบ่งเป็นข้างบนและ ข้างล่างอย่างละครึ่ง แต่ในบางรูปการตัดแบบนี้อาจจะได้ภาพที่ไม่ลงตัว ถ้าได้ช่างดี เค้าอาจจะเปลี่ยนตำแหน่งที่จะตัดให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมให้เอง แต่ถ้าเจอช่างแบบช่างเถอะก็ถือว่าเป็นโชคร้ายของเราเอง เช่นภาพตัวอย่างต่อไปนี้

จากภาพตัวอย่าง ในช่วงบนของภาพมีส่วนหางของนายแบบเราติดอยู่ในขณะที่ส่วนที่ว่างเป็นช่วงล่างของภาพ

ถ้าเราได้ช่างอัดภาพที่ขยัน หรือมี Sense หน่อยที่จะตัดภาพในส่วนที่ไม่กระทบกระเทือนรายละเอียดของภาพ ในที่นี้คือส่วนหางของนายแบบเรา ดังภาพทางด้านซ้าย


แต่ถ้าโชคร้ายหน่อย นายแบบของเราก็จะถูกช่างอัดภาพตัดหางขาดดังในรูป โดยมีพื้นที่เหลือๆ อยู่ทางด้านล่างของภาพ
วิธี การแก้ปัญหามีสองแบบครับ คือสั่งให้อัดภาพเต็ม โดยไม่มีการตัด ภาพที่ได้บนกระดาษอาจจะมีส่วนว่างเปล่าของกระดาษปนออกมาทางด้านซ้ายและขวา ของภาพด้วย เช่นการอัดภาพสัดส่วน "4:3" ลงบนกระดาษ 4"x6" (สัดส่วน 3:2) จะได้ภาพดังนี้ครับ

หรือ ไม่เช่นนั้นก็ต้อง Crop ภาพให้ได้สัดส่วนด้วยตัวเราเอง (คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่าน "วิธี Crop ภาพให้ได้สัดส่วน") จะเลือกใช้ิวิธีไหนคงอยู่ที่ความสะดวกและรสนิยมของแต่ละท่าน แต่สำหรับผมแล้ว ผมเลือกที่จะ Crop ภาพไปให้เรียบร้อยก่อนด้วยตัวผมเองเพราะไม่ต้องการความแปลกใจตอนไปรับรูป ครับ


เรื่อง ของการตัดภาพยังไม่จบแต่เพียงข้างบนครับ ยังมีอีกหน่อย.. คือผมไม่ทราบว่าเป็นประเพณีปฏิบัติมาหรืออย่างไร เมื่อเรานำภาพที่เตรียมไว้ไปอัดลงกระดาษที่ร้าน ถึงภาพดังกล่าวจะมีสัดส่วนเดียวกับกระดาษเช่น 3:2 แล้วก็ตาม แต่ภาพที่ได้ออกมา "จะไม่เต็มภาพ" อย่าง ภาพที่นำมาประกอบเป็นภาพที่ผมไปถ่ายในงานคอนเสริ์ตของ Deep Purple ภาพในสัดส่วน 3:2 ได้ครบพอดีตั้งแต่ศีรษะจนถึงรองเท้า แต่ปรากฏว่าเอาไปอัดที่ร้าน ภาพบนกระดาษที่ผมได้ออกมาอยู่เฉพาะในบริเวณที่เส้นสีแดงขีดเอาไ้ว้ในภาพประ กอบ ศีรษะก็หาย เท้าก็ขาด ไม่เหลือดีเลย ตอนเห็นภาพผมนี่อึ้งไปเลย ในที่สุดต้องอัดใหม่ครับ โดยเพิ่มคำสั่งเข้าไปว่า "อัดเต็มเฟรมเลยนะ" ถึงได้มาครบทั้งภาพครับ อันนี้ผมเดาเอานะครับ ว่าติดกันมาตั้งแต่ยุคสมัยของฟิลม์ เพราะจริงๆ ภาพบนเนื้อฟิลม์นี่เมื่ออัดลงบนกระดาษอัดภาพ ก็จะต้องมีบางส่วนของภาพโดนตัดทิ้งไปเช่นเดียวกัน และตอนที่ผมไปดูหลังจอภาพ จะเห็นกรอบสี่เหลี่ยมที่จะให้ช่างอัดภาพเลือกตัดบางส่วนของภาพแสดงขึ้นมาใน บริเวณเดียวกับเส้นสีแดงในภาพประกอบ ถึงแม้ว่าภาพของผมจะได้สัดส่วนเดียวกับกระดาษแล้วก็ตาม แปลกดีครับ

JPG, TIF, ฯลฯ ??
ไฟล์ดิจิตอลที่ำเราจะนำไปอัดภาพนั้น แน่นอนครับว่าจะต้องเป็นไฟล์ที่เครื่องอัดภาพรู้จักเท่านั้น

* JPG - เป็นไฟล์ที่ได้รับความนิยม ถ้าเป็นไฟล์ JPG จากกล้องดิจิตอลเลย รับรองนำไปอัดภาพได้แน่นอนครับ แต่ถ้าเป็นไฟล์ JPG จาก Photoshop จะแบ่งออกเป็นสองอย่างครับ ถ้าสังเกตุเวลา Save file JPG จาก Photoshop จะให้เลือกว่าจะ Save ภาพเป็นแบบ "Progressive" ถ้าจะนำภาพไปใช้บนเว็บแนะนำให้ใช้เลือก Progressive แต่ถ้าจะนำภาพไปอัดลงกระดาษถ้าจะให้ชัวร์ อย่าเลือกใช้ครับ

และ เนื่องจากในขณะนี้ โปรแกรมบางตัวเริ่มรองรับไฟล์มาตรฐาน JPG 2000 กันไปบ้างแล้ว ถ้าใครใ้ช้โปรแกรมพวกนี้อยู่ขอแนะนำว่าอย่า Save ไฟล์เป็น JPG 2000 ไปโดยเด็ดขาดครับ เพราะนอกจากเครื่องอัดภาพจะไม่สามารถอัดภาพจากไฟล์มาตรฐาน JPG 2000 ได้แล้ว โปรแกรม Photoshop (รุ่นล่าสุดในขณะที่เขียนบทความนี้คือ 7.0.1) ก็ยังไม่สามารถเปิดไฟล์ JPG 2000 ดังกล่าวได้ด้วย ดังนั้นถึงที่ร้านอัดภาพจะมี Photoshop ก็ไม่อาจช่วยแปลงไฟล์ให้เราได้ครับ

* TIF - เป็นไฟล์ที่ให้คุณภาพสูงกว่า JPG (ผมเคยเขียนไว้ในบทความเรื่อง "Raw Format" ถึงเรื่องการเลือกใช้ว่า เมื่อใดควรใช้ RAW, JPG หรือ TIF ถ้าสนในติดตามอ่านได้ตาม ลิงค์นี้ เลยครับ) ซึ่งใน TIF เองตอนนี้ก็แบ่งออกได้เป็นสองอย่าง คือ TIF ที่มีการ Compress และไม่มีการ Compress (Non-Compress) และนอกจากนั้น ยังมี TIF ที่เรียกว่า TIF 8bit และ TIF 16bit ด้วยครับ ปกติภาพ TIF ที่ได้จากกล้องดิจิตอลจะเป็นแบบ Non-Compress, 8bit ซึ่งเครื่องอัดภาพดิจิตอลสามารถอัดภาพจาก TIF ประเภทนี้ได้แน่นอน แต่ถ้าเรา Save ภาพจาก Photoshop เราสามารถเลือกที่จะ Save ได้ว่าเป็นแบบ Compress หรือ Non-Compress และยังสามารถเลือกได้ด้วยว่าเป็น TIF 8bit หรือ 16bit ซึ่งแน่นอนว่า TIF 16bit สามารถถ่ายทอดคุณภาพออกมาได้มากกว่า TIF 8bit แต่ ในขณะนี้เครื่องอัดภาพดิจิตอล ยังไม่มีตัวใดอัดภาพจาก TIF 16bit ได้เลย ดังนั้นถ้าภาพของเราเป็น TIF 16bit จะไม่สามารถอัดลงกระดาษได้ครับ

อย่างไรก็ดี ถ้าร้านอัดภาพที่เราไปใช้บริการมีโปรแกรม Photoshop เราสามารถขอให้เค้าเปิดไฟล์ TIF 16bit ของเราแล้วแปลงเป็น TIF 8bit ให้เราได้ครับ แต่จะเสียเวลาเพราะต้องนั่งทำทีละภาพ จึงแนะนำว่าถ้าจะนำภาพ TIF ไปอัดที่ร้านควร Save เป็น Non-Compress และ 8bit ครับ

* Format อื่นๆ เช่น PSD, BMP - ถึงแม้ Format ไฟล์ภาพเหล่านี้จะเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่ไม่แนะนำให้ใช้ครับ สำหรับใครที่ตบแต่งภาพไม่ว่าจะแต่งสี หรือใส่ข้อความ ในภาพด้วย Photoshop เสร็จแล้ว ผมแนะนำให้ Save เป็น JPG หรือ TIF ให้เรียบร้อยก่อนนำภาพไปอัดที่ร้านครับ เพราะหากเรานำไฟล์เหล่านี้ไป ผลงานที่ได้อาจจะไม่ตรงกับที่ทำที่บ้าน เช่นในไฟล์ PSD อาจจะมีการอ้างอิงถึง Font ที่เราลงไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน แต่ที่ร้านอัดภาพไม่มี Font ดังกล่าว ทำให้ภาพที่อัดออกมาอาจจะมีตัวอักษรแตกต่างกันไป หรือ PSD ที่บ้านเราอาจจะใช้ Version 7.0 ในขณะที่ร้านอาจจะเป็นเวอร์ชั่นที่เก่ากว่า อาจจะเกิดปัญหาไม่ compatible ได้โดยเฉพาะ PSD ที่มี Layer หลายๆ Layer ยิ่งประเภท Layer ซ้อน Layer ซึ่งเป็น Feature ใหม่ใน Photoshop 6.0 ยิ่งแล้วไปใหญ่ครับ

สรุป สำหรับเรื่อง Format ของไฟล์ คือไฟล์ที่ได้จากกล้องดิจิตอลที่เป็น JPG, TIF ถ้าเราไม่ไปทำการแก้ไขใดๆ ไฟล์เหล่านี้สามารถอัดลงกระดาษด้วยเครื่องอัดดิจิตอลได้อย่างแน่นอนครับ แต่ถ้าหากมีการนำไปตบแต่งบน Photoshop หรือโปรแกรมแต่งรูปอื่นๆ แนะนำให้ Save เป็น JPG ธรรมดา ที่ไม่มี Progressive และถ้าเป็น TIF ก็ให้เป็น TIF 8bit แบบ Non-compress เช่นเดียวกับไฟล์ JPG และ TIF ที่ได้จากกล้องดิจิตอล


กี่ Pixel, กี่ DPI ถึงจะได้ภาพคุณภาพดีเพียงพอ?
เป็น คำถามที่ได้ยินบ่อยครับ.. (โดยเฉพาะเรื่อง DPI หรือ Dot Per Inch ซึ่งไว้วันหลังมีเวลาจะมานั่งเม้าท์เรื่อง DPI ให้ฟังกันแบบละเอียดอีกที)

เป็น คำถามที่หาคำตอบได้ยากครับ สาเหตุเพราะคำว่า "คุณภาพ" นี่แต่ละคนมีบรรทัดฐานไม่เท่ากัน เอาภาพเดียวกันให้คน 10 คนดู 5 คนบอกคุณภาพใช้ได้ อีก 5 คนบอกว่าคุณภาพใช้ไม่ได้.. เอาเป็นว่าตาม Spec ของเครื่องที่ใช้อัด ณ ขณะทีเ่ขียนบทความนี้อยู่ ทั้งของ Fuji Frontier และ Nortisu ซึ่งเป็นเครื่องอัดภาพดิจิตอลที่มีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย มีความละเอียดอยู่ที่ 300 DPI ครับ ดังนั้นถ้าจะให้ภาพที่อัดออกมามีขนาดพอดีโดยไม่ต้องย่อ หรือขยายภาพให้พอดีกับขนาดของกระดาษแล้ว ให้เอา 300 ไปคูณกับขนาดของกระดาษอัดภาพที่เราต้องการ เช่นถ้าต้องการอัดภาพลงกระดาษขนาด 4"x6" ขนาดของภาพควรจะเป็น (4"x300):(6"x300) = 1,200x1,800 pixel ครับ สำหรับ DPI ที่บางท่านไปเห็นในโปรแกรมอย่าง Photoshop นั้น อยากจะบอกว่าไม่ต้องไปสนใจเลยครับ เครื่องอัดภาพไม่เคยใช้ค่าตรงนั้น ในกรณีที่ขนาดของภาพเรา เล็ก หรือใหญ่กว่าค่าที่คำนวณได้นี้ เครื่องอัดจะทำการย่อ หรือขยายภาพให้ได้ภาพที่มีขนาดเท่ากัันกับขนาดที่คำนวณไ้ว้เสมอ

สำหรับ ตัวผู้เขียน หรือตัวผมนั้น คำว่า "คุณภาพ" ที่ ผมรับได้จะอยู่ที่ 200dpi ครับ ผมคำนวณได้ง่ายๆ คือถ้าภาพจากกล้องดิจิตอลของผมมีขนาด 1,200x1,800 pixel ผมจะแนะนำไปอัดรูปที่ขนาดไม่เกิน 6"x9" ครับ

แล้วควรจะย่อ หรือขยายภาพให้มีจำนวน Pixel พอดี ก่อนนำภาพไปอัดหรือไม่?

ใน กรณีที่เรานำขนาดของ Pixel มาหารกับขนาดของกระดาษแล้วได้จำนวนจุดต่อนิ้วมากกว่า 300dpi ผมแนะนำว่าปล่อยไปเถอะครับ ให้ร้านเค้าย่อให้จะดีกว่า แต่ถ้าในกรณีที่หารออกมาแล้วตัวเลขต่ำกว่า 300dpi ซึ่งนั่นหมายความว่าทางร้านจะต้องขยายภาพของเราให้ใหญ่ขึ้นด้วยซอฟต์แวร์ ก่อนที่จะสั่งอัด ผมมีข้อแนะนำดังนี้ครับ

ถ้าเครื่องไม้เครื่องมือ ที่ เราใช้เป็นโปรแกรมอย่าง Photoshop ก็ปล่อยไปให้ร้านเค้าเป็นคนจัดการก็ได้ครับ เพราะวิธีการย่อ-ขยาย ภาพที่ดีที่สุดที่มากับตัวโปรแกรม Photoshop เป็นวิธีที่เรียกว่า bi-cubic ซึ่งวิธีนี้เมื่อนำมาขยายภาพที่มีขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น คุณภาพของภาพจะไม่ดีเลย เมื่อเทียบกับโปรแกรมเฉพาะทางที่ทำหน้าที่ขยายภาพโดยเฉพาะ เช่น RIP (Raster Image Processor) ดังนั้นถึงเราจะขยายภาพเอง หรือให้ทางร้านขยายภาพให้ก็ไม่ให้ผลที่แตกต่างกันในเรื่องคุณภาพหรอกครับ นอกเสียจากว่าเราอาจจะมีโปรแกรมที่ทำงานได้ดีกว่า Photoshop ซึ่งนอกจากโปรแกรมประเภท RIP ที่ได้กล่าวไปแล้วก็มี Genuine Fractals, Stair Interpolation ของ Fredmiranda หรือโปรแกรมที่จัดการด้าน "Upsampling" ตัวอื่นๆ ครับ

อ้อ.. บางครั้งการทำ Sharpen หลังขยายภาพแล้ว จะช่วยให้ภาพดูดีขึ้นได้เล็กน้อยครับ

อ้างอิงจาก : ThaiDPhoto.com

RAW Format
ในกล้องดิจิตอลรุ่นใหญ่ๆ ราคาแพงๆ จะนอกจากจะมีไฟล์ฟอร์แมต JPG และ TIF ให้เลือกใช้แล้วยังมี RAW Format ให้เลือกใช้อีกด้วย, RAW Format คืออะไรหาคำตอบได้จากบทความที่หาอ่านได้ยากบทนี้

ใน กล้องดิจิตอล เมื่อเราถ่ายภาพ Sensor ในการรับภาพ ซึ่งอาจจะเป็น CCD หรือ CMOS ก็ตามจะรับแสงเข้ามาส่งไปให้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า AD Convertor เพื่อทำการแปลงแสงออกเป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือข้อมูล ให้กับตัว CPU ในกล้องเพื่อทำการคำนวณประมวลผลออกมาเป็นภาพ แล้วค่อยแปลงไฟล์ออกเป็น JPG, TIFF หรืออื่นๆ เพื่อเก็บลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูลอย่างเช่น Compact Flash, Smart Media และอื่นๆ

แต่สำหรับกล้องดิจิตอลที่มีราคาค่อนข้างสูง หน่อยแล้ว นอกจาก JPG หรือ TIFF ที่จะมีให้เลือกใช้เหมือนกับกล้องทั่วไปแล้ว มักจะมีเพิ่มขึ้นมาอีก 1 format นั่นคือ RAW format ซึ่งจะมีนามสกุลแตกต่างกันออกไปเช่น NEF, CRW ช่างถ่ายภาพที่เป็นเจ้าของกล้องเหล่านี้มักจะไม่รู้จักว่า format เหล่านี้แตกต่าง หรือมีข้อดีกว่า JPG, TIFF ที่เรารู้จัก และเคยชินอย่างไรจึงมองข้าม format นี้ไปอย่างน่าเสียดาย และอันที่จริงแล้ว RAW format แต่ก่อนจะมีเฉพาะในกล้องราคาแพงมากๆ เท่านั้น คืออย่างน้อยๆ ก็ต้องเฉียดแสนบาท จนเมื่อไม่นานมานี้ Canon เป็นรายแรกที่ได้เอาความสามารถนี้ใส่ลงมาในกล้องรุ่นเล็กหน่อยอย่าง G1 (แต่ก็ยังเป็นระดับ Prosumer)

จากที่เขียนไปในย่อหน้าแรกจะเห็นว่า กล้องเมื่อรับสัญญาณที่ถูกส่งมาจาก AD Convertor แล้วจะต้องแปลงสัญญาณดังกล่าวออกมาเป็นภาพด้วย CPU ในตัวกล้อง ตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกกำหนดไว้ เช่น White balance, sharpness, ฯลฯ ออกมาเป็นภาพแล้วจึงแปลงภาพที่ได้จากการประมวลผลเป็น JPG หรือ TIFF ก่อนเก็บลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล จุดนี้เองเป็นจุดแตกต่างอย่างมากสำหรับ RAW format เพราะ RAW format จะข้ามขั้นตอนตรงนี้ไปเลย คือเมื่อกล้องรับสัญญาณจาก AD Convertor แล้ว กล้องจะทำการเก็บข้อมูลเหล่านั้นลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูลทันที โดยไม่ประมวลผลใดๆ กับข้อมูลเหล่านั้นเลย หรือจะเทียบกับฟิลม์แล้ว ก็เหมือนฟิลม์ที่ัยังไม่ได้ล้างนั่นเอง

เมื่อเราถ่ายข้อมูลรูปภาพจาก กล้องเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เราจะไม่สามารถ ดูรูปภาพเหล่านี้ได้ในทันทีเราจำเป็นจะต้องทำการ Process ภาพเหล่านี้เสียก่อน ด้วยซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่จะทำหน้าที่เสมือนกับการล้างฟิลม์นี้ บริษัทกล้องบางยี่ห้อเช่น Kodak, Canon จะให้มากับตัวกล้องเลยโดยไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่มเติม แต่ก็มีบางบริษัทอย่างเช่น Nikon ที่ทำเป็น Optional ให้้ต้องจ่ายเงินกันภายหลัง หรือ กล้องอย่าง Olympus, Nikon D1x, D1h ก็ให้มาเป็น Plug-in ของ Photoshop ซึ่งก็สามารถอ่านไฟล์เข้ามาใน Photoshop ก่อนที่จะ save ไฟล์ออกเป็น format อื่น ที่เรารู้ัจัก ซึ่งการให้เป็น Plug-in มานี้ถึงจะซอฟต์แวร์จะไม่เก่งกาจเหมือนกับแบบที่ทำงานต่างหาก แต่ก็ไม่ถึงกับไม่มีประโยชน์เลย ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงต่อไปในช่วงหลังของบทความนี้ครับ



--------------------------------------------------------------------------------


ภาพทางด้านบนนี้เป็นภาพที่ถ่ายโดยกล้องดิจิตอล Nikon D1 เป็น RAW format แต่ให้ซอฟต์แวร์ process ในเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกตั้งไว้จากกล้องดิจิตอล จึงมีผลของภาพเช่นเดียวกับการถ่ายเป็น JPG ออกจากกล้องดิจิตอล โดยในกล้องตั้งระบบ White balance เป็น Auto ภาพนี้ถ่ายเวลา 5 โมงเย็น มีแสงอาทิตย์พอสมควร แต่เนื่องจากระบบ White balance ถูกพื้นหญ้าหลอก ภาพจึงออกมาในโทนสีที่ไม่ถูกต้อง

(ผมเจอ ปัญหานี้ตั้งแต่กล้องดิจิตอล ระดับราคาไม่แพง, Prosumer, Olympus E-10 จนกระทั่งกล้องมืออาชีพอย่าง Nikon D1 ก็ไม่พ้นถูกหญ้าหลอก, เนื่องจากที่บ้านผมเลี้ยงสุนัขและผมชอบถ่ายภาพสุนัข จึงทำให้ผมเจอปัญหานี้บ่อย บางครั้งถ่ายสองภาพติดกันในเวลาห่างกันไม่กี่วินาที แต่พื้นที่หญ้าในภาพไม่เท่ากัน สีออกมาคนละโทนเลย)

--------------------------------------------------------------------------------



ภาพนี้เป็นภาพที่นำมา RAW มา process อีกครั้ง โดยกำหนด white balance จาก auto มาเป็น Daylight เพื่อให้มีซอฟต์แวร์การคำนวณโทนแสงของภาพให้ตรงกันกับภาวะแสงในขณะถ่ายภาพ

หมายเหตุ:- ภาพทั้งสองไม่มีการตบแต่งเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อดีของ RAW Format มีเยอะมากครับ ขอเอาที่สำคัญๆ มาเล่ากันก่อนละกันครับ ส่วนรายละเอียดปลีกเล็กๆ ถ้าลองมาใช้แล้วคงจะได้สัมผัสเอง

คุณภาพของภาพที่ได้สูงกว่า
แน่นอนว่า CPU ในกล้องดิจิตอลไม่มีทางที่จะเร็วไปกว่า Pentium III 800MHz หรือ G3 ที่ตั้งอยู่บนโต๊ะเป็นแน่แท้ ดังนั้นความสามารถในการประมวลผลภาพนี่แน่นอนว่า คอมพิวเตอร์ของเรามีกำลังเหลือเฟือในการทำหน้าที่นี้
กล้องดิจิตอลในระดับสูงจะมี Dynamic Range หรือความละเอียดของสีสูงเกินความสามารถของ JPG หรือ TIF ในกล้องที่จะเก็บได้ อย่างเช่นกล้อง Nikon D1 Serie, D100 - Canon D30/D60/1D จะมี Dynamic Range อยู่ที่ 12 bits/color, Olympus E10-20 และ Canon G2 (ขอบคุณ คุณ Radar สำหรับข้อมูล ของ G2) จะมี Dynamic Range อยู่ที่ 10 bits/color (กล้องรุ่นเล็กอย่าง G1 มี Dynamic Range อยู่ที่ 8 bits/color เหมือนกล้องอื่นๆ อาจจะไม่ได้รับประโยชน์ที่จะกล่าวถึงในข้อนี้ แต่ก็จะได้รับประโยชน์อื่นๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป) เมื่อรวมกันสามสี RGB แล้วจะได้ Dynamic Range ของสีที่ 36bits (65,535 ล้านสี) หรือ 30bits (1,024 ล้านสี) ในขณะที่ JPG หรือ TIF ในกล้องสามารถรองรับการเก็บข้อมุลได้เพียง 24 bits (16 ล้านสีเท่านั้น) โห! เห็นหรือยังครับความแตกต่างของรายละเอียดสีที่หายไปว่ามากมายแค่ไหน (65,353 vs 16 ล้านสี) ในขณะที่เรา process บนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเราสามารถที่จะ save ภาพเป็น JPG 2000 หรือ TIF 48bit ที่รองรับรายละเอียดสีได้ครบถ้วน
เนื่องจาก CPU ในกล้องมีประสิทธิภาพต่ำ ภาพ JPG ที่ได้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าที่ควรจะเป็น เช่นภาพเดียวกันเมื่อ process จากกล้อง Nikon D1 JPG - Fine จะได้ภาพที่ขนาด 1MB แต่เมื่อใช้โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ process ภาพจะได้ภาพที่คุณภาพใกล้เคียงกันมากที่ขนาด 350K
สามารถแก้ไข และกำหนดเงื่อนไขแสงให้ภาพได้ภายหลัง
เมื่อเรา process ภาพในกล้อง cpu ในกล้องจะทำการ process ภาพตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เช่น white balance, sharpness, hue value ฯลฯ ซึ่งหากค่าใดค่าหนึ่งเกิดผิดพลาดขึ้นมาจะทำให้ภาพที่ถ่ายออกมาไม่สามารถถ่าย ทอดสีสันที่แท้จริงออกมาได้ หรือาจจะเสียหายจนนำมาใช้งานไม่ได้เลย เมื่อเรานำภาพขึ้นมา process บนเครื่องคอมพิวเตอร์แ้ล้ว เราสามารถที่จะปรับแต่งภาพเหล่านี้ได้ในเงื่อนไขต่างๆ ที่ต้องการและยังสามารถทดลองเปลี่ยนเงื่อนไขแล้วเปรียบเทียบเพื่อหาผลลัพธ์ ที่ดีที่สุดได้อีกด้วย
ไม่จำเป็นต้องถ่ายคร่อมอีกต่อไป เพราะภาพที่ Over / Under ไม่เกินซัก 2 stops จะสามารถ process ใหม่ด้วยการเพิ่ม หรือลด stop ของแสงได้โดยคุณภาพของภาพยังคงอยู่ และหากจำเป็นอาจจะเพิ่มหรือลด stop ของแสงได้มากหรือน้อยกว่านี้แล้วแต่ซอฟต์แวร์ที่ใช้ แต่อาจจะมี Noise เพิ่มขึ้น (ดีกว่าต้องทิ้งทั้งภาพ?)
สำหรับช่างภาพที่ใช้กล้องที่ให้ซอฟต์แวร์มาเป็น plug-in สำหรับ Photoshop ซึ่งอาจจะไม่สามารถปรับแต่งอะไรได้มากนัก ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์ตรงนี้เต็มที่ แต่แน่นอนว่าจะได้รับประโยชน์เรื่อง Dynamic Rang ของสีของภาพได้อย่างเต็มที่ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานต่างหากได้เราสามารถที่จะตั้งสภาพแสงต่างๆ ให้กับภาพที่ถ่ายอย่างน้อยซักหนึ่งภาพ แล้ว apply ค่าที่ตั้งไว้ดีแล้วกับภาพอื่นๆ ที่ถ่ายพร้อมกันทั้งหมดที่อยู่ภายใต้สภาวะแสงเดียวกันได้ ทำให้การปรับแต่งแสงของภาพจำนวนมากเป็นเรื่องง่ายและสะดวก

เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียครับ

เนื่องจาก RAW format จะมีขนาดใหญ่กว่า JPG (แต่เล็กกว่า TIF) ดังนั้นจำนวนภาพที่จะถ่ายได้ต่ออุปกรณ์เก็บข้อมูลจะได้จำนวนภาพน้อยกว่า และัใช้เวลา save file นานกว่า เมื่อเทียบกับการเก็บเป็น JPG
* RAW file ไม่มีมาตรฐาน ดังนั้นนอกจากซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเฉพาะแล้ว เราจะไม่สามารถใช้ซอฟต์แวร์อื่นๆ อ่านข้อมูลภาพใน format นี้ได้เลย และเมื่อนำภาพเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว จะต้องมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างน้อยหนึ่งขั้นตอน (process ภาพ) ก่อนที่จะได้ดูภาพ

แต่สิ่งที่จะตัดสินว่าคุ้มหรือไม่คุ้มที่ จะใช้ RAW format ก็คงเป็นคุณภาพของผลงานที่จะได้ และต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง 2 ผลงานที่จะแสดงให้เห็นว่า RAW format คุ้มค่าหรือไม่ โดยตัวอย่างชุดแรกเป็นความประทับใจที่ผมไม่ต้องเสียภาพดีๆ จำนวนเกือบร้อยภาพที่ถ่ายในเย็นวันหนึ่งไป เพราะระบบ White balance ที่ผมตั้งไว้ auto ถูกหลอกโดยสีของสนามหญ้า ทำให้ภาพที่ออกมาผิดพลาดไป และตัวอย่างที่สองเป็นภาพที่ผมถ่ายมา over เกินไป จึงนำต้นฉบับที่ over มาปรับสีด้วย Photoshop แล้วเอามาเทียบกับการ process ภาพใหม่ ให้เห็นความแตกต่างกันแบบตัวต่อตัว


#ภาพที่ 1




ภาพนี้เป็นภาพที่ได้จากการ process ภาพด้วยเงื่อนไขที่กำหนดจากกล้อง โดยตั้ง white balance ไว้ที่ auto จะเห็นได้ว่าภาพมีลักษณะแดงมาก และมีลักษณะแสงที่ over เกินไป



#ภาพที่ 2




ภาพที่ 2 นี้เป็นการนำภาพแรกไปแต่งสีใน Phothoshop เพื่อลดความสว่าง และความแดงของภาพลง



#ภาพที่ 3




ภาพที่ 3 นี้เป็นการนำ RAW ไฟล์ไป process ใหม่ โดยมีการปรับค่า white balance ให้เป็น Daylight และ ลด contrast ลง

--------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ #1


ภาพที่ #2


ภาพที่ #3


ทั้งสามภาพนี้ เป็นภาพที่ตัดมาจากส่วนที่ตัดมาจากภาพข้างบนทั้งสามภาพ เพื่อให้เห็นรายละเอียด โดยจะเน้นจุดสังเกตุอยู่สองแห่งคือ ที่รายละเอียดของคลื่นและรายละเอียดของเส้นเชือกของชุดบิกินีของนางแบบ จะเห็นได้ว่าในภาพที่สอง ซึ่งเป็นการนำเอาภาพที่ 1 คือไปแก้ไขด้วย Photoshop (กรณีเดียวกับการนำ JPG ที่ได้จากกล้องถ่ายภาพไปแก้ไขโดย Photoshop) จะเห็นว่าเราสามารถแก้ไขสีสันของภาพให้มีความสว่าง และความแรงของสีลดลงให้อยู่ในระดับที่สามารถดูได้ดีในระดับหนึ่ง แต่จะเห็นได้ว่ารายละเอียดของภาพจะไม่มีมากไปกว่าภาพต้นฉบับหมายเลข 1 ในขณะที่ภาพหมายเลข 3 เป็นการนำ RAW format ไปทำการ process ใหม่ โดยการปรับ white balance เป็นเป็น daylight และ ลด contrast ลง (หรืออาจจะใช้วิธีลด stop ลงซัก 1/2 stop ก็ได้ แต่ผมเลือกใช้วิธีที่บอกไป) จากภาพเล็กจะสังเกตุได้ว่ารายละเอียดของคลื่นจะมีมากกว่าสองภาพแรก และหากดูภาพขยายทางด้านซ้ายนี้แล้ว จะเห็นชัดขึ้นไปอีกว่ามีระลอกคลื่นเล็กๆ เพิ่มออกมาทางขวามือเป็นแนวยาว และเชือกของชุดบิกินีของนางแบบมีรายละเอียดที่ชัดเจนขึ้น
จากสิ่งที่เห็นไปข้างต้นคงจะพิสูจน์ได้แล้วว่าการใช้ RAW format จะทำให้เราสามารถรีดเอาคุณภาพทุกบิตออกมาจากกล้องดิจิตอลที่แสนแพงของเราได้ อย่างเต็มที่และคุ้มค่า แต่ก็ต้องแลกมาด้วยขั้นตอนการทำงานที่อย่างน้อยต้องเพิ่มขึ้นมาอย่างน้อยอีก หนึ่งขั้นตอน ส่วนจะคุ้มกับแรงงานหรือความยุ่งยากหรือไม่ท่านผู้อ่านคงต้องเป็นผู้พิจารณา เองครับ

สรุป
การถ่ายภาพโดยทั่วไปใช้ JPG ก็ถือว่าอยุ่ในระดับใช้ได้ และคุณภาพดี แต่ถ้าในกรณีที่ต้องการคุณภาพแบบที่สุดของที่สุดเท่าที่กล้องดิจิตอลของเรา จะทำได้ หรือเป็นงานสำคัญที่ต้องการลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายขึ้นกับภาพให้ได้มาก ที่สุด RAW format ก็คงเป็นคำตอบเดียว สำหรับผู้ที่มีกล้องดิจิตอลที่สามารถเก็บภาพเป็น RAW format ได้ TIF เป็นสิ่งที่ควรหลีกเหลี่ยง เพราะภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า RAW format และยังมีคุณภาพต่ำกว่าอีกด้วย แต่สำหรับผู้ที่มีกล้องดิจิตอลที่มีให้เลือกระหว่าง JPG และ TIF เท่านั้น บางครั้ง TIF ก็เป็นทางเลือกที่ดีในกรณีที่ถ่ายที่ต้องการรายละเอียดมากหน่อย อย่างเช่นการถ่ายภาพหมู่ เพราะหาก save เป็น jpg แล้วหน้าตาของนายแบบและนางแบบทั้งหลายอาจจะเบลอๆ ไปหน่อย

อ้างอิงจาก : ThaiDPhoto.com