มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)

สำหรับมาตรวัดความร้อน ตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของความร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียดมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น นั่นหมายความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก ทว่าถ้าเป็นในรถธรรมดา อาจจะยังไม่ก่อปัญหามากนัก ขณะที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้เลยทีเดียว โดยปกติ เซ็นเซอร์ ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้นก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการเหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน

มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)

อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลายสภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ ไปในแนวทางเดียวกับอุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องให้อยู่ ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป

โวลต์ มิเตอร์ (VOLT METER)

เป็นตัวบอกค่าพิกัดแรงดันไฟฟ้าในรถยนต์ ทำให้เราสามารถรับรู้ได้เลยว่าแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ที่เราใช้งานอยู่ปัจจุบันว่าเสือมหรือยัง หรือแบ็ตจะหมดไหม ทำให้เรารู้ได้ล่วงหน้าว่าสมควรถึงเวลาเปลี่ยนแบ็ตแล้วหรือไม่ ประโยชน์ ที่ได้จากการติดโวลท์มิเตอร์ในรถ

วิเคราะห์ระบบไฟฟ้าในรถจากค่าที่อ่านได้จากโวลท์มิเตอร์

- ขณะดับเครื่องค่าควรอยู่ประมาณ 12-12.8 โวลท์ ถ้าต่ำกว่า12 ถือว่าผิดปกติอาจมีสาเหตุมาจากแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม(เก็บไฟไม่อยู่ )หรือไดชาร์จชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่(ดูในหัวข้อตรวจสอบไดชาร์จ)

- วิธีตรวจสอบว่าแบตเสื่อมหรือไม่ทดสอบได้โดยหลังจากขับรถปกติมาจอดและดับ เครื่องประมาณ 1 นาทีค่าที่อ่านจากมิเตอร์ต้องมีค่าระหว่าง 12-12.8 โวลท์ หลังจอดไว้(4-6ชั่วโมง)หรือข้ามวันค่าที่อ่านได้ต้องประมาณ 12-12.8 โวลท์ เท่าเดิมถือว่าปกติ ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้มากๆเช่น11.5-11.9 แบตเตรี่เริ่มเก็บไฟไม่อยู่แต่ยังพอไหว แต่ถ้าต่ำกว่า 11.5 โวลท์ลงไป ถือว่าอันตรายเพราะถ้าจอดทิ้งสัก 2 วันอาจสตาร์ทไม่ติด(ถ้าอายุแบตเตอรี่ยังใหม่ก็อาจจะเกิดจากมีกระแสไฟฟ้า รั่วลงกราวด์แนะนำเข้าร้านให้ช่างไฟฟ้ารถยนต์ตรวจสอบครับ) ***อายุแบตเตอรี่ทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 18-24 เดือน แล้วแต่การดูแล*** ตรวจสอบไดชาร์จจากการอ่านค่าจากโวลท์มิเตอร์ ให้ทำการติดเครื่องยนต์แล้วอ่านค่าจากโวลท์มิเตอร์ค่าปกติจได้ดังนี้

1.ที่รอบเครื่องยนต์ 1000 รอบต่อนาที(รอบเดินเบา) จะต้องมีค่าประมาณ13.5-13.8 โวลท์ ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้เช่น 12.8-13.4 โวลท์ไดชาร์จเริ่มมีปัญหาคือชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่ ถ้าต่ำกว่า12.8 โวลท์แสดงว่าไดชาร์จไม่ชาร์จกระแสไฟฟ้าให้กับแบตเตอริ่ และถ้าต่ำกว่า12 โวลท์ถือว่าขณะนั้นระบบไฟฟ้าในรถดึงกระแสไฟฟ้าแบตเตอรี่มาใช้งานเพียงอย่าง เดียวให้ทำการตรวจซ่อมไดชาร์จ

2.ที่รอบเครื่องยนต์ 2000-2500 รอบต่อนาที จะต้องมีค่าประมาณ13.8-14.7 โวลท์ อาจมากกว่านี้ได้เล็กน้อยแต่ต้องไม่เกิน 15 โวลท์ถ้ามากกว่า 15 โวลท์อาจมีสาเหตุมาจากเรกกูเตอร์(วงจรควบคุมแรงดันของไดชาร์จ)อาจมีปัญหา ผลเสียคือแบตเตอรี่อาจเสื่อมเร็วเพราะถูกชาร์จด้วยแรงดันที่สูงเกิน ทำให้เกิดความร้อนสูงในแบตฯถ้าร้อนมากๆจะทำให้น้ำกลั่นเดือดได้

0 ความคิดเห็น

Post a Comment